การสมานแผล
ไม่ว่าคุณจะมีผิวแบบไหนก็ตาม ปัจจัยจำเพาะบางอย่างก็อาจกระตุ้นหรือนำไปสู่อาการแพ้ได้: ผิวของคุณอาจตอบสนองอย่างรุนแรงโดยที่คุณอาจคิดว่ามันคงไม่เกิดขึ้นก็ตาม…
การสมานผิวคืออะไร?
การสมานผิวเป็นคุณสมบัติที่น่าทึ่งอันหนึ่งของเนื้อเยื่อของมนุษย์
โดยปกติกระบวนการซ่อมเซมเนื้อเยื่อเกิดขึ้นได้สองระยะ:
ระยะแรก การซ่อมแซมจากด้านในของผิว (Dermal phase) : เนื้อเยื่อชั้นหนังแท้ซ่อมแซมตัวเองโดยเร่งการสร้างหลอดเลือดฝอยและเซลล์ให้มากขึ้น ขั้นตอนนี้สัมพันธ์กับการอักเสบ หากแผลรุนแรงเกินไป การสมานแผลจำเป็นต้องมีวิธีการทางการแพทย์ร่วมด้วย
ระยะสอง การซ่อมแซมผิวจากด้านนอกของผิว (Superficial phase) ซึ่งเซลล์ผิวชั้นนอกจากขอบของแผลจะเคลื่อนที่เข้ามาปิดปากแผล
ซึ่งกระบวนการที่เกิดขึ้นนี้จะมีข้อแม้คือ แผลที่เกิดจะต้องไม่กว้างหรือลึกเกินไปเพื่อที่จะให้เซลล์ผิวยังคงสามารถซ่อมแซมด้วยตัวมันเองได้ และจะไม่มีการติดเชื้อเกิดขึ้น
ผลลัพธ์ที่ตามมาคือ?
- การสมานแผลที่เหมาะสม: ปล่อยให้เวลาเยียวยา
หากแผลลึกเกินไป ปากแผลที่ปิดนั้นเป็นผลมาจากการซ่อมแซมเฉพาะที่ผิวชั้นนอก แต่หลังจากนั้นผิวก็อาจแลดูต่างจากเดิม : และนั่นก็คือผลของการสร้างรอยแผลเป็น
- ยังมีสถานการณ์อีกหลายอย่างที่ทำให้การซ่อมแซมผิวเป็นไปได้ยาก….
ในบางกรณีที่เกิดขึ้นได้ยาก ก็อาจพบว่ามีการสร้างรอยแผลเป็นที่ผิดปกติ
สาเหตุบางประการนั้นอาทิเช่น :
-ความผิดปกติในการสร้างคอลลาเจนทำให้การซ่อมแซมผิวเป็นไปได้ช้าและผิดปกติ รวมไปถึงการเกิดรอยแผลเป็นชนิดที่เนื้อหดหายไป (Atrophic scars) ซึ่งรู้จักกันในนามของ รอยแผลเป็นรูปกระดาษห่อบุหรี่ (cigarette-paper scars) ซึ่งมีลักษณะบางแต่กว้าง
-ความผิดปกติจากสภาวะทั่วๆไปอย่าง การขาดสารอาหาร
-การนอนพักฟื้นบนเตียงเป็นเวลานานๆ (แผลเรื้อรัง แผลกดทับ),
-ระบบไหลเวียนที่ไม่ดียังนำไปสู่การเกิดรอยโรคและแผลที่ขาซึ่งยากที่จะรักษา
-และสุดท้าย บางคนอาจจะมีแผลเป็นที่มองเหมือนตุ่มนูนชนิดผิวเรียบและไม่สามารถรักษาให้หายเองได้ แผลเป็นดังกล่าวจะพัฒนาไปเป็นแผลเป็นที่เรียกว่าคีลอยด์ “keloidal” ซึ่งเป็นชนิดของแผลเป็นที่นูนขึ้นมา (excessive scarring)